Thai English

ประวัติสมาคม

ประวัติ สมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย

 

การแข่งขันกรีฑาสูงอายุในประเทศไทย

 

ภูมิหลัง : วัตถุประสงค์

          สมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย เดิมเป็นชมรมกรีฑาสูงอายุไทย ถือกำเนิดมาจากบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีใจรักทางด้านการกีฬา ซึ่งเดินทางเข้าร่วมการแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเชียที่ประเทศอินโดนีเซีย (ปี ค.ศ. 1994) และพบว่านักกีฬาสูงอายุในต่างประเทศมีการรวมตัวและจัดกิจกรรมกันได้อย่างกว้างขวาง บังเกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักในคุณภาพชีวิตและการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องและมีการแบ่งกลุ่มอย่างเป็นระบบ ในบางประเทศภาครัฐได้มีนโยบายให้การสนับสนุนและเอาใจใส่กิจกรรมกีฬาในผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม สำหรับในประเทศไทยแล้วการจัดกิจกรรมกีฬาในผู้สูงอายุยังขาดระบบ อาจจะเป็นเพราะไม่มีผู้ใดเข้ามาอาสาจัดการก็เป็นได้ ดังนั้น กลุ่มนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งมีจำนวนประมาณ 17 คน มีความเห็นตรงกันในการมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งชมรมกรีฑาสูงอายุไทยขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยมีนายวิวัฒน์ วิกรานตโนรส รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยในขณะนั้น เป็นประธานชมรม

  การจัดตั้งองค์กรกรีฑาผู้สูงอายุได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นองค์กรกลางในการดำเนินกิจกรรมกีฬาและกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นกิจกรรมด้านกรีฑาเป็นกิจกรรมหลัก ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการเล่นและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่างกว้างขวางส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักกีฬากรีฑาสูงอายุทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการเล่นกีฬาของนักกีฬากรีฑาสูงอายุสนับสนุนกิจกรรมนันทนาการและการท่องเที่ยวในผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และลดละกิจกรรมหรือการบริโภคสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ และส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งคือ รณรงค์และสนับสนุนให้มีการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง สร้างความเสมอภาคของผู้สูงอายุในสังคมให้มีความมั่นใจ ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะสามารถนำพากิจกรรมนี้ให้จรรโลงอยู่เพื่อผู้สูงวัยที่รักการกีฬาทั่วประเทศสามารถนำตนเองปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำต่อเนื่องตลอดจนบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่วงการกีฬาของประเทศและเพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่เยาวชนต่อไป

   ชมรมได้ยกฐานะเป็นนิติบุคคลจัดตั้งเป็นสมาคมตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคมเมื่อปี พ.ศ.2543 (ทะเบียนเลขที่ จ.3949 / 2543) และได้รับอนุญาต จัดตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เมื่อปี พ.ศ. 2543 ภายใต้ชื่อ “สมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย” (ตามใบอนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งสมาคม กกท.3.ที่ 001/2543) วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2543

   ปัจจุบัน สมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย ได้รับจดทะเบียนสมาคม จากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคมกีฬา (แบบ สฬ.2) ทะเบียนเลขที่ 027/2559 ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2559


การดำเนินกิจกรรมสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย

   ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย การกีฬาแห่งประเทศไทยประกอบกับความตั้งใจที่มุ่งมั่นของคณะกรรมการสมาคม สามารถทำให้เกิดกิจกรรมหลายกิจกรรม มีกิจกรรมภายในประเทศ ได้แก่ การจัดแข่งขันกรีฑาผู้สูงอายุชิงชนะเลิศประเทศไทย การจัดแข่งขันแรลลี่ผู้สูงอายุ การจัดแข่งขันกอล์ฟ และจัดแข่งขันเปตอง รวมทั้งจัดทำวารสารสมาคมเพื่อเผยแพร่ กิจกรรมกีฬา และการให้ความรู้ทางด้านวิชาการ ด้านกิจกรรมในต่างประเทศ ได้มีการส่งนักกีฬากรีฑาสูงอายุไปแข่งขันในรายการแข่งขัน กรีฑาสูงอายุชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย” และการแข่งขันระหว่างชาติอื่น ๆ กิจกรรมหลักของสมาคมกรีฑาสูงอายุไทย ที่ดำเนินการเป็นประจำ ได้แก่

     1. จัดแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ซึ่งเป็นการแข่งขันตามกติกาสากล ได้ดำเนินการจัดแข่งขันมาแล้ว 18 ครั้งด้วยกัน โดยการจัดแข่งขันดังกล่าวประกอบด้วย ประเภทลู่และประเภทลาน จำนวน 42 รายการ ในแต่ละกลุ่มอายุ ชาย ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หญิง ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ระยะห่างของแต่ละกลุ่มอายุ 5 ปี ส่วนประเภทแข่งขันประเภทลู่ ได้แก่ วิ่งระยะสั้น ระยะกลางและ ระยะไกล ประเภทลาน ได้แก่ ทุ่ม พุ่ง ขว้าง กระโดดสูง กระโดดไกล เป็นต้น การแข่งขันแต่ละครั้ง นอกจากเป็นกิจกรรมการแข่งขันเชิงกีฬาแล้ว ในแต่ละปียังถือเป็นมหกรรมสุขภาพครั้งสำคัญของเครือข่ายสมาชิกตลอดจน ประชากรผู้รักสุขภาพ เนื่องจากได้จัดให้มีการประลองทักษะและวัดผลคืบหน้าการสร้างเสริมสุขภาพของเครือข่ายสมาชิกในแต่ละภูมิภาคอีกด้วย สรุปผลการแข่งขันที่ผ่านมา ดังนี้

ครั้งที่ 1 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรีปี พ.ศ. 2539 และได้รับความ ร่วมมือจากชาวจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างดียิ่ง มีการจัดแข่งขันทั้งหมด 36 รายการ มีจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 320 คน

ครั้งที่ 2 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬาสมโภช 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2540 จัดแข่งขัน ทั้งหมด 36 รายการ มีจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 350 คน

ครั้งที่ 3 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬาหัวหมาก กกท. ระหว่างวันที่ 7– 8 มีนาคม 2541 จัดแข่งขันทั้งหมด 36 รายการ มีจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 370 คน

ครั้งที่ 4 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 13 – 14 มีนาคม 2545 จัดแข่งขันทั้งหมด 36 รายการ มีจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 380 คน

ครั้งที่ 5 จัดแข่งขัน ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน กกท. ระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2543 จัดแข่งขันทั้งหมด 36 รายการ มีจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 380 คน

ครั้งที่ 6 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 10 – 11 มีนาคม 2544 จัดแข่งขันทั้งหมด 36 รายการ มีจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 450 คน และสมาคมได้เชิญนักกีฬาต่างประเทศเข้าร่วม 3 ประเทศ ประกอบด้วย จีน (ไทเป) ศรีลังกา และมาเลเซีย รวมนักกีฬาต่างชาติ จำนวน 50 คน

ครั้งที่ 7 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 16 – 17 มีนาคม 2545 จัดแข่งขันทั้งหมด 42 รายการ มีจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 543 คน (มีนักกีฬาต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง เข้าร่วมการแข่งขันด้วย รวม 17 คน)

ครั้งที่ 8 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬากลาง จังหวัดราชบุรี วันที่ 15 - 16 มีนาคม 2546 ได้มีนักกรีฑาจากทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม รวม 752 คน และนักกีฬาจาประเทศสมาชิกอีก 5 ชาติ จำนวน 70 คน ซึ่งนักกีฬาที่เข้าแข่งขันต่างมีสมรรถภาพและสุขภาพสมบูรณ์มีมาตรฐานการเล่นในระดับที่ดียิ่ง และมีความเข้าใจในอุดมการณ์ของกีฬาในผู้สูงอายุเป็นอย่างดี พร้อมใจที่จะตระหนักในคุณค่าของการออกกำลังกายเพื่อประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่มีศักยภาพ

ครั้งที่ 9 จัดแข่งขัน ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2547 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 800 คน แข่งขันทั้งหมด 42 รายการ

ครั้งที่ 10 จัดแข่งขัน ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 12 – 13 มีนาคม 2548 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 1000 คน

ครั้งที่ 11 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬาสมโภช 700 ปี ณ เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2549 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 1,038 คน และนักกีฬาต่างชาติ 4 ประเทศ จำนวน 63 คน

ครั้งที่ 12 จัดแข่งขัน ณ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 9-11  มีนาคม 2550 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 1,125 คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 6 ประเทศ 90 คน

ครั้งที่ 13 จัดแข่งขัน ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน การกีฬาแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2551 มีนักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,072 คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 6 ประเทศ 224 คน

ครั้งที่ 14 จัดแข่งขัน ณ  สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ จังหวัดนครราชสีมา  ระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม 2552  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มีนักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,164 คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 3 ประเทศ 11 คน

ครั้งที่ 15 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 5-7 มีนาคม 2553 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส.  นักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,277 คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 7 ประเทศ 51 คน

ครั้งที่ 16 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2554 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. นักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,365 คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 8 ประเทศ 155  คน

ครั้งที่ 17 จัดแข่งขัน ณ สนามกีฬาจิระนคร จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 9 - 11 มีนาคม 2555 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. นักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,403  คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 12 ประเทศ 152 คน

ครั้งที่ 18 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2556 ณ สนามกีฬากลาง จังหวัดขอนแก่น จัดโดยสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย จังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่น และ สมาคมกีฬาจังหวัดขอนแก่น สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,317 คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 11 ประเทศ 187 คน

ครั้งที่ 19 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 7-9  มีนาคม 2557    ณ   ศูนย์กีฬา  มหาวิทยาลัยธรรม

ศาสตร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี จัดโดยสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย   การกีฬาแห่งประเทศไทย  สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,460 คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 9 ประเทศ 146 คน

ครั้งที่ 20 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 6-8  มีนาคม 2558 ณ สนามกีฬากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดโดยสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย   การกีฬาแห่งประเทศไทย  สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,622 คน และนักกีฬาต่างประเทศ จำนวน 9 ประเทศ 143 คน

ครั้งที่ 21 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 4-6  มีนาคม 2559 ณ สนามกีฬากลาง จังหวัดสกลนคร จัดโดยสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย  ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสกลนคร  การกีฬาแห่งประเทศไทย  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักกีฬาเข้าร่วมจำนวน 1,626 คน และนักกีฬาต่างประเทศ 60 คน

ครั้งที่ 22 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่  3-5   มีนาคม 2560  ณ สนามกีฬากลาง จังหวัดจันทบุรี  จัดโดยสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย  ร่วมกับ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจันทบุรี การกีฬาแห่งประเทศไทย  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักกีฬาเข้าร่วมจำนวน   1,644    คน และนักกีฬาต่างประเทศ 138 คน

ครั้งที่ 23 กำหนดจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 9-11  มีนาคม 2561 ณ สนามกีฬากลาง จังหวัดลำปาง จัดโดยสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดลำปาง ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย   โดยการสนับสนุนของการกีฬาแห่งประเทศไทย  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักกีฬาเข้าร่วม 1882 คน นักกีฬาต่างประเทศ 301 คน

ครั้งที่ 24 กำหนดจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-10  มีนาคม 2562 ณ สนามกีฬากลาง จังหวัดนครสวรรค์  จัดโดยสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครสวรรค์  ร่วมกับ เทศบาลนครนครสวรรค์ โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย   โดยการสนับสนุนของการกีฬาแห่งประเทศไทย  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักกีฬาเข้าร่วม 1829 คน และนักกีฬาต่างประเทศ 252 คน 

ครั้งที่ 25 กำหนดจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2563 ณ สนามกีฬา โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี และสนามกีฬา โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี   จัดโดย  จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี  โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี  มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตจังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี  ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย   โดยการสนับสนุนของการกีฬาแห่งประเทศไทย  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักกีฬาเข้าร่วม 1992 คน 

   อนึ่ง ในการแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ในแต่ละปี สมาคมได้มีการประสานและได้รับการสนับสนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดเจ้าภาพ และองค์กรส่วนท้องถิ่นของจังหวัดเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับพระกรุณาจาก

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี  กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ประทานถ้วยครอง

รางวัลคะแนนถ้วยรวมของการแข่งขัน ยังความปลื้มปิติเป็นล้นพันแก่ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันเสมอมา

     2. การส่งนักกีฬากรีฑาสูงอายุไปแข่งขันชิงแชมป์เอเซีย โดยจัดการแข่งขันทุกๆ 2 ปี เป็นกิจกรรมกระตุ้นให้ ผู้สูงอายุมีเป้าหมายในการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมีการพัฒนาการด้านมาตรฐานกีฬา สมาคมได้เป็นผู้ประสานงานนำนักกีฬาที่มีความพร้อมทุกด้านเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่ได้รับเชิญจากสหพันธ์กรีฑาสูงอายุแห่งเอเซีย ซึ่งผลการแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงชนะเลิศแห่งเอเซียที่ผ่านมาคณะนักกีฬาไทยสามารถนำชัยชนะได้ครองเหรียญทองหลายรายการ และยังประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติภูมิของประเทศให้เป็นที่ประจักษ์ สรุปรายการแข่งขันในต่างประเทศ (ชิงแชมป์เอเซีย) ที่สมาคมส่งเข้าร่วม ได้แก่

ครั้งที่ 5 5th  AMA Championships 1998  เมืองไทนาน ประเทศจีนไทเป ประจำปี พ.ศ.2531 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 5 คน

ครั้งที่ 6 6th AMA Championships 1990  กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ประจำปี พ.ศ.2533 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 7 คน

ครั้งที่ 7 7th AMA Championships 1992  ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 11 - 14 มิถุนายน 2535 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 15 คน

ครั้งที่ 8 8th AMA Championships 1994  กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่าง วันที่ 2 - 6 ตุลาคม 2537 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 17 คน

ครั้งที่ 9 9th AMA Championships 1996  กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 ตุลาคม 2539 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 40 คน

ครั้งที่ 10 10th AMA Championships 1998  เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 13 - 20 ตุลาคม 2541 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 25 คน

ครั้งที่ 11 11th AMA Championships 2000  เมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 15 - 24 กันยายน 2543 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 14 คน ผลการแข่งขัน ได้ 2 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง

ครั้งที่ 12 12th  AMA Championships, Dalian, China, Sept. 2002 ระหว่างวันที่ 15 - 20 กันยายน 2545 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 36 คน ผลการแข่งขัน ได้ 6 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน 13 เหรียญทองแดง

ครั้งที่ 13 13th AMA Championships 2004 ,Bangkok  ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กำหนดจัด ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 - 5 ธันวาคม 2547 ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 19 ประเทศ ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีนไทเป มองโกเลีย เนปาล อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง อินเดีย พม่า ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา บรูไน ลาว เวียตนาม กัมพูชา สิงคโปร์ และไทย

ครั้งที่ 14  14th AMA Championships 2006  เมือง บังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน  2549  ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 16 คน ผลการแข่งขัน ได้ 17 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน 5 เหรียญทองแดง

ครั้งที่ 15  15th  ASIA MASTERS ATHLETICS CHAMPIONSHIPS ,Thailand 2008  โดยจัดการแข่งขันที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ระหว่างวันที่ 1-5 ธันวาคม 2551 ซึ่งประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 157 ผลการแข่งขัน 60 เหรียญทอง 66 เหรียญเงิน 47 เหรียญทองแดง รวม 173 เหรียญ เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย

ครั้งที่ 16  16th ASIA MASTERS ATHLETICS CHAMPIONSHIPS 2010 ณ เมืองกัวลาลัมเปอร์ มาเลเชีย  ซึ่งประเทศไทย ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 64 คน

ครั้งที่ 17  17th ASIA MASTERS ATHLETICS CHAMPIONSHIPS  2012 ณ กรุงไทเป ระหว่างวันที่ 1-5 ธันวาคม 2555  ซึ่งประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 42 คน ผลการแข่งขัน  เป็นอันดับ 5 ของเอเชีย 56 เหรียญ

ครั้งที่ 18  18th ASIA MASTERS ATHLETICS CHAMPIONSHIPS  2014 ณ เมืองกีต้ากามิ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19-23 กันยายน 2557 ซึ่งประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 43 คน ผลการแข่งขัน เป็นอันดับ 7 ของเอเชีย 19 เหรียญ

ครั้งที่ 19  19th ASIA MASTERS ATHLETICS CHAMPIONSHIPS  2016  ณ ประเทศสิงคโปร์  ระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2559  โดยมีประเทศเข้าร่วมแข่งขัน 24 ชาติ ตามกลุ่มอายุรวม 564 รายการ  ผลการแข่งขันปรากฏว่า ไทยได้ 21 เหรียญทอง 13 เหรียญเงิน 10 เหรียญทองแดง มาเป็นอันดับ 6

ครั้งที่ 20  20th ASIA MASTERS ATHLETICS CHAMPIONSHIPS  2017 ณ เมืองรูเกา ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ระหว่างวันที่ 24-28 กันยายน 2017 โดยมีประเทศเข้าร่วมแข่งขัน 20 ประเทศ จำนวนนักกีฬา 1976 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า ไทยได้ 24 เหรียญทอง 13 เหรียญเงิน 4เหรียญทองแดง มาเป็นอันดับ 6

ครั้งที่ 21  21th ASIA MASTERS ATHLETICS CHAMPIONSHIPS  2019 ณ เมืองซาราวัค  ประเทศมาเลเชีย  ส

     3. การจัดประชุมทางวิชาการ ในวันพบสมาชิกเป็นประจำทุกปี โดยมีสาระสำคัญนอกจากการประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกในภูมิภาคต่างๆ แล้ว การประชุมวิชาการได้มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมผู้สูงวัย เช่น ด้านโภชนาการ การออกกำลังกายที่สมวัย การจัดประชุม ยังถือเป็นการส่งเสริมการสร้างเสริมทักษะการบริหารจัดการชมรมเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ และการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการประเด็นสุขภาพให้ชุมชนและประชากรในพื้นที่ด้วย

     4. กิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ นอกจากสมาคมได้จัดกิจกรรมการแข่งขันแล้ว ยังคงดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ชีวิตได้ทำกิจกรรมร่วมกันหลายประการ อาทิเช่น การรวมกลุ่มนำสิ่งของและทุนทรัพย์บริจาคแก่โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร และ องค์กรการกุศลต่าง ๆ จัดการทัศนศึกษาและเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพอนามัยและด้านสมรรถภาพทางกาย มาให้ความรู้แก่สมาชิกเป็นประจำ

     สมาคม นอกจากได้สานต่อแนวนโยบายการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตามแนวทางและนโยบายของรัฐและหน่วยงานสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ในการส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในชีวิตประจำวันทุกช่วงวัยที่เหมาะสมแล้ว สมาคมยังได้ส่งเสริมและคัดเลือกบุคคลแห่งปีเพื่อรับการเชิดชูจากหน่วยงานรัฐและกิจกรรมสูงอายุในวันสำคัญอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีกิจกรรมสร้างกระแสความสนใจในการดูแลสุขภาพ พลานามัย รวมทั้งกิจกรรมสืบสานพระราชปณิธานในหลวง รัชกาลที่ 9 โครงการ เดิน-วิ่ง-จักรยาน ทำดีเพื่อพ่อ สะสมระยะทาง 999 กิโลเมตร ในจังหวัดนำร่อง 6 จังหวัด 4 ภูมิภาค เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ตลอดปี พ.ศ.2560

 

เป้าหมายและการเป็นสมาชิก

     สมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย มีความมุ่งมั่นที่จะรณรงค์ให้ผุ้สูงอายุทั่วประเทศเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ การให้สังคมด้วยประสบการณ์ของผู้สูงวัย การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อเยาวชนและบุคคลวัยทำงานได้ทราบถึงคุณประโยชน์และได้รู้คุณค่าในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญของชาติตามเป้าหมายและนโยบายพัฒนากีฬาของชาติด้วย ปัจจุบันสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย มีสมาชิกที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดทุกภาคของประเทศ มากกว่า 2,000 คน สมาคมมีเป้าหมายที่จะรณรงค์ให้ผู้สูงอายุทั่วทุกจังหวัดได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาคมมากยิ่งขึ้น โดยพยายามที่จะให้มีสมาชิกสโมสรทั่วประเทศใน 77 จังหวัดให้ได้ ซึ่งปัจจุบันสมาคมมีเครือข่ายสมาชิกซึ่งถือเป็นเครือข่ายสุขภาพของชุมชนกระจายในแต่ละภูมิภาค มีจำนวนมากกว่า 40 จังหวัด โดยแต่ละเครือข่ายจะทำหน้าที่เป็นแกนนำในการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน จนสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนมากกว่า 15 พื้นที่

      สำหรับหลักเกณฑ์การสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ชาย ตั้งแต่อายุ 35 ปี ขึ้นไป หญิง ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป กลุ่มของอายุแบ่งเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 5 ปี ตามมาตรฐานสากลของการแข่งขันกีฬานานาชาติ ผู้สนใจสอบถามและติดต่อสมัครเป็นสมาชิกสมาคมได้ที่ที่ทำการสมาคมซึ่งตั้งอยู่ที่ การกีฬาแห่งประเทศไทย เลขที่ 286 การกีฬาแห่งประเทศไทย  อาคารราชมังคลากีฬาสถาน โซน E6  ถนนรามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กทม. 10240 โทร. 0 2369 2565

 

การสนับสนุนงบประมาณ

     เนื่องจากสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทยเป็นนิติบุคคล มีสถานภาพเป็นองค์กรเอกชนแม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งและจัดกิจกรรมจากการกีฬาแห่งประเทศไทย และองค์กรกีฬาต่างๆ แต่เนื่องจากสมาคมเป็นสมาคมที่ดำเนินกิจกรรมด้านมวลชนและกีฬาเพื่อสุขภาพเป็นสำคัญ จึงมิได้มีฐานะเป็นองค์กรหลักตามแนวทางสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อความเป็นเลิศประจำปีของ การกีฬาแห่งประเทศไทย ดังนั้น สมาคมจึงต้องดำเนินกิจกรรมภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณและจะต้องหาผู้สนับสนุนด้านงบประมาณด้วยตนเองซึ่งได้รับการสนับสนุน อย่างดียิ่งจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รวมทั้งภาคเอกชนและบางหน่วยงานรัฐ  ที่ให้การสนับสนุนในการจัดแข่งขันแต่ละครั้งที่สมาคมจัดขึ้นให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

 

ประโยชน์ที่มอบแก่มวลสมาชิก

     สมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มาเป็นเวลา 20 ปี จากการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกและบุคคลทั่วไปที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ทำให้ทราบว่า การจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้นและหมั่นฝึกซ้อมดูแลตนเองเสมอ เห็นความสำคัญของตนไม่รู้สึกเดียวดาย การใช้ชีวิตร่วมกันแม้ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ก็สามารถสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันได้ และลูกหลานที่มาร่วมกิจกรรมเกิดความประทับใจและรู้คุณค่าของผู้สูงวัย มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติของกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นพี่เป็นน้องกันทั่วประเทศสามารถจรรโลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นแบบไทยๆ อย่างมีคุณค่า

 

 บทสรุป

      สมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมที่คณะกรรมการได้กำหนดขึ้นจะสามารถกระตุ้นให้ประชาชนสนใจการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงวัยจะเป็นประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมกับตัวผู้สูงอายุเองหรือครอบครัวและเป็นประโยชน์ต่อสังคม สิ่งสำคัญที่สุดของสมาคม ได้แก่ งบประมาณสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ ซึ่งการจัดกิจกรรมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล ขณะนี้สมาคมได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้ว และเรายังคงยึดมั่นในนโยบายสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสุขภาพของมวลชนและความเสมอภาคอย่างมีศักยภาพในสังคมของผู้สูงอายุ ด้วยความมุ่งมั่นที่มั่นคงและเสียสละตามปฏิญญาสากลว่าด้วยกีฬาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุตลอดไป

 

**************************